ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
          เมื่อเกิดเหตุจราจลขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกทราบข่าว จึงยกทัพกลับจากเขมร บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันมาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้ทรงแก้ไข วิกฤติการณ์ พร้อมทั้งทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ซึ่งนับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี
     หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงทรงชำระสอบสวนพฤติกรรมของขุนนางข้าราชการทั้งหลาย ที่พบว่าไม่จงรักภักดีก็ให้เอาตัวไปประหารชีวิตเสีย พร้อมทั้งได้ทรงปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบ และทรงมีดำริว่า พระราชวังเดิมมีวัดขนาบทั้งสองด้าน ทำให้ขยายกว้างขวางออกไปไม่ได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา)สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีใหม่
เหตุผลในการย้ายราชธานี
    1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา
    2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง
3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด

ลักษณะของราชธานีใหม่
ที่สำคัญอื่น ๆ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงคูเมืองเดิมสมัยกรุงธนบุรี
    ราชธานีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้สร้างขึ้นได้ทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 การสร้างราชธานีใหม่นี้โปรดฯให้สร้างเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือกำหนดผังเมืองเป็น 3 ส่วน
    1.ส่วนที่เป็นบริเวณพระบรมมหาราชวัง วังหน้า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทุ่งพระเมรุ และสถาน
    2.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง เริ่มตั้งแต่คูเมืองเดิมไปทาง ทิศตะวันออก จนจดคูเมืองที่ขุดใหม่หรือคลองรอบกรุง ประกอบด้วย คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง และเพื่อสะดวกในการคมนาคม โปรดให้ขุดคลองสองคลองคือคลองหลอด 1 และคลองหลอด 2 เชื่อมคูเมืองเก่ากับคูเมืองใหม่ติดต่อถึงกัน ตามแนวคลองรอบกรุงนี้ ทรงสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการขึ้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างถนน สะพาน และสถานที่อื่น ๆ ที่จำเป็น ราษฎรที่อาศัยอยู่ในส่วนนี้ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก
    3.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยนอกกำแพงเมือง มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองรอบกรุง เป็นหย่อม ๆ กระจายกันออกไป คลองสำคัญที่โปรดให้ขุดขึ้น คือ คลองมหานาค ราษฎรในส่วนนี้ประกอบอาชีพการเกษตร และผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทางช่างประเภทต่าง ๆ
                   
    สำหรับการสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น นอกจากจะให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรแล้ว ยังโปรดให้สร้างวัด
พระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ขึ้นภายในวังด้วย เหมือนวัด พระศรีสรรเพชญสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วให้
อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเป็น สิริมงคลแก่กรุงเทพมหานคร และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สำหรับพระนครเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2528 แล้วจัดให้มีการสมโภช และพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยน จากบวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ สืบมาจนปัจจุบัน 
ที่มา www.chiraporn.igetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น