ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

Kurt  Lewin’ s Studies
แบ่งลักษณะผู้นำเป็น  3  แบบ  คือ
1.1 ผู้นำแบบอัตถนิยมหรืออัตตา (Autocratic Leaders) จะตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แน่นอนขึ้นอยู่กับตัวผู้นำเอง คิดถึงผลงานไม่คิดถึงคน บางครั้งทำให้เกิดศัตรูได้ ผู้นำลักษณะนี้จะใช้ได้ดีในช่วงภาวะวิกฤตเท่านั้น ผลของการมีผู้นำลักษณะนี้จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และไม่เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำเผด็จการลิเบีย
 



อดอล์ฟ ฮิตเลอร์  ผู้นำเผด็จการนาซีเยอรมัน
 

1. 2  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic  Leaders)   ใช้การตัดสินใจของกลุ่มหรือให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  รับฟังความคิดเห็นส่วนรวม  ทำงานเป็นทีม  มีการสื่อสารแบบ  2 ทาง ทำให้เพิ่มผลผลิตและความพึงพอใจในการทำงาน  บางครั้งการอิงกลุ่มทำให้ใช้เวลานานในการตัดสินใจ   ระยะเวลาที่เร่งด่วนผู้นำลักษณะนี้ไม่เกิดผลดี   

บารัค โอบามา  ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา



นายกอร์ดอน  บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ


1.3  ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยม  (Laissez- Faire  Leaders)  จะให้อิสระกับผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มที่ในการตัดสินใจแก้ปัญหา  จะไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน  ไม่มีหลักเกณฑ์  ไม่มีระเบียบ  จะทำให้เกิดความคับข้องใจหรือความไม่พอใจของผู้ร่วมงานได้และได้ผลผลิตต่ำ  การทำงานของผู้นำลักษณะนี้เป็นการกระจายงานไปที่กลุ่ม  ถ้ากลุ่มมีความรับผิดชอบและมีแรงจูงใจในการทำงานสูง  สามารถควบคุมกลุ่มได้ดี มีผลงานและความคิดริเริ่มสร้างสรร
            ลักษณะผู้นำแต่ละแบบจะสร้างบรรยากาศในการทำงานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นการเลือกใช้ลักษณะผู้นำแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์ด้วย
 
ที่มา  :  ชาญชัย  อาจินสมาจารย์. การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.
                             พิมพ์ดี จำกัด, 2541.
              ธร  สุนทรายุทธ.  (มปป.)  หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. 
                      กรุงเทพมหานคร  :  เนติกุลการพิมพ์,  2539.

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้น ม.3 ม.6 และนิทรรศการ

           พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้น ม.3 ม.6 และนิทรรศการวิชาการ วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2554 ประธานในพิธี คือ นายทองฮวย  ขันทอง ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บรรยากาศในวันนั้นมีผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้นำท้องถิ่นมาร่วมเป็นจำนวนมาก

ห้องประชุมถูกตกแต่งอย่างสวยงาม


นักเรียนชมนิทรรศการวิชาการ

นายทันใจ  ชูทรงเดช ผู้อำนวยการสถานศึกษา

นายทองฮวย  ขันทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว

นักเรียนขึ้นรับประกาศนียบัตรตามลำดับ

ประธานตัดริบบิ้นเปิดงานวิชาการ

ผมเอง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา


ผู้ปกครองนักเรียนมาร่วมงานอย่างคับคั่ง


CONGRATULATION

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศรีปทุมมินิมาราธอน

โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคม ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์  ได้จัดกิจกรรมวิ่งมาราธอนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ออกกำลังกายและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ในการนี้ได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านนายอำเภอท่าตูม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน


ท่านนายอำเภอเปิดงานที่จุด START
น้ำดื่มระหว่างทางการแข่งขัน
มอบรางวัลแด่ผู้ชนะ

ห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom )

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย
          
          ห้องเรียนเสมือนเป็นการเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ 
                                                                                                                       ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมาย ถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็น การเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน


แหล่งอ้างอิง: http://www.thaigoodview.com/node/18133
                       :http://www.google.com

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

สงครามเก้าทัพ
“มันแสนสี่ กูเจ็ดหมื่น หาญยืนสู้
ให้มันรู้ ว่ากูน้อย ไม่ถอยหนี
ดาบต่อดาบ เลือดต่อเลือด เชือดร่างพลี
แผ่นดินนี้ เพื่อลูกหลาน ขานถึงกู”

สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์กับอาณาจักรพม่า หลังจากที่พระบาทพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์อังวะ หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พม่าแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือน เช่นกรุงศรีอยุธยา
 สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง
    * ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
    * ทัพที่ 2 ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์
    * ทัพที่ 3 และ 4 เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด
    * ทัพที่ 5-7 เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 3 4 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
    * ทัพที่ 8-9 เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง 50,000 นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ
เวลานั้นทางฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง 2 เท่า ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสีย กรุงศรีอยุธยาไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือจัดกองทัพออกเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ
    * ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
    * ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ คอยไปรับหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
    * ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี
    * ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน
สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียง อาหาร แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับครั้นคร้ามคิดว่ากองทัพไทยมีกำลัง มากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ 8-9 จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบทั้งกองทัพ ขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น ทางด้านเหนือพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัว เมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ
ส่วนทัพที่บุกมาทางด่านแม่ละเมามีกำลังมากกว่าจึงสามารถตีเมืองพิษณุโลก ได้ แต่เมื่อเสร็จศึกทางด้านพระเจดีย์สามองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยหัวเมืองทางเหนือ
ส่วนทางปักใต้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมืองเสร็จศึกที่ลาดหญ้าแล้ว เสด็จยกทัพลงไปช่วยทางปักต์ใต้ต่อ แต่ก่อนที่จะเสด็จไปถึงทัพพม่าได้โจมตีเมืองระนองถึง เมืองถลาง เวลานั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ แต่ชาวเมืองถลางนำโดยคุณหญิงจันภริยาเจ้าเมืองถลางที่ถึงแก่กรรมและนางมุก น้องสาว ได้รวบรวมกำลังชาวเมืองต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ สามารถป้องกันข้าศึกพม่าไม่ให้ยึดเมืองถลางไว้ได้ หลังเสร็จศึกแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรีย์ (หรือท้าวเทพสตรี) นางมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร นอกจากนี้ทัพพม่าบางส่วนสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ และยกลงไปตีเมืองสงขลาต่อ เจ้าเมืองและกรมการเมืองพัทลุงพอทราบข่าวทัพพม่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ ด้วยความขลาดจึงหลบหนีเอาตัวรอด แต่มีภิษุรูปหนึ่งนามว่าพระมหาช่วยมีชาวบ้านนับถือศรัทธากันมาก ได้ชักชวนชาวเมืองพัทลุงให้ต่อสู้ป้องกันสกัดทัพพม่าไม่ให้เข้ายึดเมือง พัทลุงได้ เมืองกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพลงมาช่วยหัวเมืองปักต์ใต้ ตีทัพพม่าตั้งแต่เมืองไชยาลงมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นไปพ้นจากหัวเมืองปักต์ใต้แล้ว พระมหาช่วยต่อมาได้ลาสิกขาบทและเข้ารับราชการ
ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ้างอิงภาพจาก : กองบัญชาการกองทัพบก http://www.rta.mi.th/rta.asp
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
          เมื่อเกิดเหตุจราจลขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกทราบข่าว จึงยกทัพกลับจากเขมร บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันมาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้ทรงแก้ไข วิกฤติการณ์ พร้อมทั้งทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ซึ่งนับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี
     หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงทรงชำระสอบสวนพฤติกรรมของขุนนางข้าราชการทั้งหลาย ที่พบว่าไม่จงรักภักดีก็ให้เอาตัวไปประหารชีวิตเสีย พร้อมทั้งได้ทรงปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบ และทรงมีดำริว่า พระราชวังเดิมมีวัดขนาบทั้งสองด้าน ทำให้ขยายกว้างขวางออกไปไม่ได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา)สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีใหม่
เหตุผลในการย้ายราชธานี
    1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา
    2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง
3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด

ลักษณะของราชธานีใหม่
ที่สำคัญอื่น ๆ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงคูเมืองเดิมสมัยกรุงธนบุรี
    ราชธานีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้สร้างขึ้นได้ทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 การสร้างราชธานีใหม่นี้โปรดฯให้สร้างเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือกำหนดผังเมืองเป็น 3 ส่วน
    1.ส่วนที่เป็นบริเวณพระบรมมหาราชวัง วังหน้า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทุ่งพระเมรุ และสถาน
    2.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง เริ่มตั้งแต่คูเมืองเดิมไปทาง ทิศตะวันออก จนจดคูเมืองที่ขุดใหม่หรือคลองรอบกรุง ประกอบด้วย คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง และเพื่อสะดวกในการคมนาคม โปรดให้ขุดคลองสองคลองคือคลองหลอด 1 และคลองหลอด 2 เชื่อมคูเมืองเก่ากับคูเมืองใหม่ติดต่อถึงกัน ตามแนวคลองรอบกรุงนี้ ทรงสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการขึ้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างถนน สะพาน และสถานที่อื่น ๆ ที่จำเป็น ราษฎรที่อาศัยอยู่ในส่วนนี้ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก
    3.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยนอกกำแพงเมือง มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองรอบกรุง เป็นหย่อม ๆ กระจายกันออกไป คลองสำคัญที่โปรดให้ขุดขึ้น คือ คลองมหานาค ราษฎรในส่วนนี้ประกอบอาชีพการเกษตร และผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทางช่างประเภทต่าง ๆ
                   
    สำหรับการสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น นอกจากจะให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรแล้ว ยังโปรดให้สร้างวัด
พระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ขึ้นภายในวังด้วย เหมือนวัด พระศรีสรรเพชญสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วให้
อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเป็น สิริมงคลแก่กรุงเทพมหานคร และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สำหรับพระนครเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2528 แล้วจัดให้มีการสมโภช และพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยน จากบวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ สืบมาจนปัจจุบัน 
ที่มา www.chiraporn.igetweb.com

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

เส้นทางการโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ของกองทัพญี่ปุ่น






เช้า ตรู่ของวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในหมู่เกาะฮาวาย และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

ประธานาธิบดี
<>แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ของสหรัฐฯ ได้สั่งระดมสรรพกำลังทั้งหมดและเตรียมประกาศสงครามกับญี่ปุ่น

รายงานเบื้องต้นกล่าวว่า เครื่อง บินทิ้งระเบิดต่างๆ ของญี่ปุ่น ได้พุ่งเป้าการโจมตีไปยังเรือรบ เครื่องบิน และคลังอาวุธทางทหารในอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ บริเวณเกาะโออาฮู (Oahu) ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 และเป็นเกาะสำคัญของหมู่เกาะฮาวาย

ข่าว การโจมตีครั้งนี้ ได้สร้างความตลึงให้กับสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯ โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นยังคงกำลังทำการเจรจาอยู่กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ กับ นายคอร์เดลล์ ฮัลล์ (Cordell Hull) อยู่ในกรุงวอชิงตัน เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่มีต่อญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นได้รุกรานจีนอยู่อย่างต่อเนื่อง

ณ เวลา 07.55 นาฬิกาของเกาะดังกล่าว เครื่องบินโจมตีระลอกแรกอยู่ระหว่าง 50 ถึง 150 ลำ ได้ถล่มฐานทัพเรือสหรัฐเป็นเวลา 35 นาที สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลต่อกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ฝูงเครื่องบินของญี่ปุ่น ได้ทิ้งระเบิดแรงสูงและระเบิดเพลิงเข้าใส่

การโจมตีในรอบที่ 2 ได้ตามมาที่เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งประกอบด้วยฝูงเครื่องบินอย่างน้อย 100 ลำ โดยใช้เวลานานนับชั่วโมง

มีเครื่องบินญี่ปุ่นอย่างน้อย 2 ลำที่ถูกสอยร่วง แต่มีรายงานว่า มีทหารสหรัฐฯ อย่างน้อย 350 นาย เสียชีวิตจากระเบิดที่ฐานทัพอากาศ Hickam Air Force Base ของ สหรัฐฯ บนเกาะโออาฮู (Oahu) ต่อมามีประกาศออกมาจากทางการว่า มีทหารอีก 104 นายที่ถูกสังหาร และอีก 300 นาย ได้รับบาดเจ็บในการโจมตีครั้งนี้

รายงานจากวิทยุ กล่าวว่า กองกำลังฝ่ายสหรัฐฯ ได้ยิงเครื่องบินญี่ปุ่นร่วง 6 ลำ และจมเรือดำน้ำอีก 4 ลำ

มีการรายงานต่างๆ ออกมาว่าเกาะเมืองหลวงของฮาวาย คือ เกาะโฮโนลูลู (Honolulu) มีการทิ้งระเบิดใส่เช่นกัน รวมทั้งในเกาะกวม (Guam) ในแปซิฟิก และในเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ คือ เมืองมะนิลา (Manila) นอกจากนี้ เรือรบของอังกฤษที่ชื่อว่า ปีเตอเรล (Peterel) ได้ถูกจมเช่นเดียวกัน ที่เมืองชางไฮ (Shanghai) ในประเทศจีน

ส่วน รายงานจากสิงคโปร์ บ่งบอกให้ทราบว่ามีการระดมเรือรบของญี่ปุ่นอยู่ในทะเลจีนใต้ (South China Sea) และดูเหมือนว่ากำลังจะมุ่งหน้าสู่อ่าวไทย (Gulf of Siam) เพื่อมายังกรุงเทพ

ประธานาธิบดีรูสเวลท์ กำลังเตรียมคำชี้แจงต่อสภาคองเกรสในวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ได้รับการคาดหมายว่าประธานาธิบดีจะร้องขอให้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Times ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีการคาดหมายว่าเยอรมนีและอิตาลีจะประกาศสงครามกับสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ชั่วโมงต่อจากนี้

แม้ ว่าการโจมตีของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวอเมริกัน แต่ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าความรู้สึกเช่นนี้ ได้บ่มตัวอยู่มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ได้เลวร้ายลงนับแต่ปี ค.ศ.1931 เมื่อญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองแมนจูเรียทางตอนเหนือของจีน ช่วงเวลาทศวรรษที่ผ่านมา ความขัดแย้งดังกล่าวได้กลายมาเป็นสงครามแบบเต็มรูปแบบระหว่างญี่ปุ่นกับจีน

ในขณะที่สหรัฐฯ ได้ทำการคว่ำบาตรการค้าต่อญี่ปุ่น จากนั้นในเดือนกันยายน ค.ศ.1940 ญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงที่เรียกว่า Tripartite Pact กับ เยอรมนีและอิตาลี ญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นสมาชิกในกลุ่มอักษะที่กำลังทำสงครามอยู่ในยุโรป แต่ญี่ปุ่นยังคงทำการเจรจาอยู่กับสหรัฐฯ ในเรื่องสิทธิทางการค้า กระทั่งถึงวันดังกล่าวนี้
ความโมโหของญี่ปุ่นต่อการคว่ำบาตรทางการค้าของสหรัฐฯ และต่อการสนับสนุนของฝ่ายพันธมิตรที่ให้กับจีน ได้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นประกาศสงคราม

ภาย ในชั่วเวลา 2 ชั่วโมงของการโจมตี เรือรบ 6 ลำถูกจม เรือลำเลียงอื่นๆ 112 ลำถูกจมหรือไม่ก็เสียหาย เครื่องบิน 164 ลำถูกทำลาย ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ 3 ลำ ซึ่งปกติจะประจำการอยู่ที่เพิร์ลฮาเบอร์ รอดพ้นจากการโจมตี เนื่องจากได้รับมอบหมายให้ไปที่อื่นในวันดังกล่าว


การโจมตี ครั้งนี้ มีทหารญี่ปุ่นน้อยกว่า 100 คนเสียชีวิต แต่ทหารสหรัฐฯ มากกว่า 2,400 คนเสียชีวิต และในจำนวนนี้มี 1,000 คน ที่อยู่บนเรือรบที่ชื่อว่า อริโซนา (Arizona) ซึ่งได้ถูกโจมตีเสียหายในขณะที่จอดทอดสมออยู่ มีพลเรือนสหรัฐฯ อีก 1,178 คน ได้รับบาดเจ็บ

วันรุ่งขึ้นต่อมา ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ได้เรียกการโจมตีที่เกิดขึ้นว่า "เป็นวันแห่งความเลวร้าย" และสหรัฐฯ ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น นับเป็นการยุตินโยบายแบบอยู่โดดเดี่ยวของสหรัฐฯ

มี การสอบสวนต่อมาอีก 6 ครั้งในช่วงสงคราม และอีก 1 ครั้งหลังสงคราม ถึงการที่สหรัฐฯ ได้ถูกโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัวอย่างสิ้นเชิงในครั้งนี้ การสอบสวนดังกล่าวเผยว่าเป็นเพราะขาดการประสานและขาดการสื่อสารระหว่าง รัฐบาลที่วอชิงตันและเกาะโออาฮู และระหว่างกองกำลังต่างๆ ทำให้มีผู้บัญชาการสหรัฐฯ ในพื้นที่คือ พลเรือเอกคิมเมล (Kimmel) และพลโทชอร์ท (Short) ถูกปลด

การโจมตีครั้งนี้ นับเป็นชัยชนะของญี่ปุ่นและทำให้ญี่ปุ่นเปิดฉากการรุกรานเต็มรูปแบบเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บรรดา เรือรบสหรัฐฯ ต่างๆ ที่เสียหายหรือไม่ก็ที่ถูกจมลงเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 มีเพียง 3 ลำเท่านั้น คือ เรือรบอริโซนา (Arizona) โอคลาโฮมา (Oklahoma) และยูทาห์ (Utah) ที่เสียหายเกินการซ่อมแซม และเรือรบยูทาห์ ก็ได้ล้าสมัยลงแล้ว

นอก จากนี้ เหตุการณ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ยังได้ช่วยหลอมรวมชาติอเมริกันให้เป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ในการทำสงครามกับญี่ปุ่นอีกด้วย

ที่มา www.teenee.com




ภาวะผู้นำ The Ohio State Studies


ภาวะผู้นำ The Ohio State Studies

การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท
จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถอธิบายได้เป็นสองมิติ คือ
1.พฤติกรรมมุ่งคน (consideration)
2.พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
พฤติกรรม มุ่งคน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
- การรับฟังความเห็นของพนักงาน
- การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน
- บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า
- สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน
- ปรึกษาหารือกับพนักงาน
- ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน
- เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน
- เป็นมิตรกับพนักงาน
พฤติกรรม มุ่งงาน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งระบุงานและความรับผิดชอบที่เจาะจงของสมาชิกแต่ละคน ให้ชัดเจน กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การประสานกิจกรรมของพนักงาน การมุ่งความสำคัญของกำหนดการ มุ่งการกำกับอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
1. การวางหมายกำหนดการทำงาน
2. การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. การกระตุ้นให้ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน
4. การตัดสินใจสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไร
5. การกดดันพนักงาน
6. การระบุบทบาทพนักงานให้ชัดเจน
7. การแก้ปัญหา การวางแผน
8. การประสานงาน การให้การสนับสนุน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบบสองมิตินี้ ผู้นำอาจมีสไตล์ผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่แบบ คือ
1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ
2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง
3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
สรุปผลการวิจัยบางประการจากการศึกษาของ ม. โอไฮโอสเตท เกี่ยวกับมิติทั้งสองด้านของผู้นำ พบว่า
1.ผู้นำที่มีประสิทธิผล จะมีพฤติกรรมที่มุ่งเน้นทั้งสองมิติ คือ ทั้งด้านมุ่งคน และมุ่งงาน
2.กลุ่มผู้ตามมีความต้องการให้ผู้นำแสดงออกด้วยพฤติกรรมด้านมุ่งคน มากกว่า มุ่งงาน
3.ในทางกลับกันกับข้อ 2 ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้นำ ต้องการให้ผู้นำใช้พฤติกรรม ด้านมุ่งงาน เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งของผู้บังคับบัญชายิ่งสูงมากยิ่งต้องการให้ผู้นำใช้ พฤติกรรมด้านมุ่งงานมากขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : สมยศ นาวีการ (2540 ). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพ : บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

100 คำสั่งบนแป้นคีย์บอร์ดเตือนคำทรงจำ....

CTRL+C --คัดลอก

CTRL+X --ตัด/ย้าย

CTRL+V --วาง (ใช้คู่กับคำสั่งคัดลอก/ตัด)

CTRL+Z --ยกเลิกการทำงานครั้งล่าสุด

DELETE --ลบโดยไปพักที่ถังขยะ

SHIFT+DELETE --ลบโดยไม่ต้องพักที่ถังขยะ

CTRL กดค้างไว้+คลิกเลือกไฟล์ --เป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง

CTRL+SHIFT กดค้างไว้ แล้วคลิกที่ไฟล์แรก และไฟล์สุดท้าย --จะเป็นการเลือกตั้งแต่
ไฟล์แรกถึงไฟล์สุดท้ายทั้งหมด

F2 --เปลี่ยนชื่อแฟ้ม

CTRL+RIGHT ARROW --ไปยังคำต่อไป (ด้านขวามือ)

CTRL+LEFT ARROW --ไปยังคำก่อนหน้า (ด้านซ้ายมือ)

CTRL+DOWN ARROW --ไปยังย่อหน้าต่อไป (ลงล่าง)

CTRL+UP ARROW --ไปยังย่อหน้าต่อไป (ขึ้นบน)

CTRL+SHIFT --ทำ Highlight ทั้งบรรทัด

SHIFT+ปุ่มลูกศร --ทำ Highlight เฉพาะส่วนที่เลือก

CTRL+A --เลือกทั้งหมด

F3 --ค้นหา

ALT+ENTER --ดู properties

ALT+F4 --ปิดโปรแกรมที่ใช้งานในปัจจุบัน

ALT+SPACEBAR --เปิด shortcut menu ของหน้าจอที่ใช้งานอยู่

CTRL+F4 --ปิดโปรแกรมที่ใช้อยู่ทั้งหมด

ALT+TAB --สลับหน้าจอระหว่างโปรแกรมที่ 1 ไปโปรแกรมที่ 2 3 4

ALT+ESC (Cycle through items in the order that they had been opened)

F6 key (Cycle through the screen elements in a window or on the desktop)

F4 --แสดงรายการใน Address bar

SHIFT+F10 --เหมือนการคลิกขวาที่เม้าส์

CTRL+ESC --เหมือนการคลิกที่ปุ่ม Start

ALT+Underlined letter in a menu name (Display the corresponding menu)

Underlined letter in a command name on an open menu (Perform the
corresponding command)

F10 key (Activate the menu bar in the active program)

RIGHT ARROW --เปิดเมนูถัดไปทางขวาหรือเปิดเมนูย่อยทางขวา

LEFT ARROW --เปิดเมนูถัดไปทางซ้ายหรือเปิดเมนูย่อยทางซ้าย

F5 key --รีเฟรชหน้าจอปัจจุบัน

BACKSPACE --แสดงโฟลเดอร์ที่อยู่เหนือขึ้นไป 1 ระดับ

ESC --ยกเลิก
SHIFT เมื่อใส่แผ่น CD-ROM --หยุดยั้งการเปิดแผ่นแบบอัตโนมัติ

Dialog Box Keyboard Shortcuts /เกี่ยวกับไดอะล็อก

CTRL+TAB --ไปในแถบต่อไป

CTRL+SHIFT+TAB --ไปในแถบก่อนหน้า

TAB --เลื่อนไปยังส่วนต่อไป

SHIFT+TAB --เลื่อนไปยังส่วนก่อนหน้า

ALT+Underlined letter (Perform the corresponding command or select
the corresponding option)

ENTER --ตกลง

SPACEBAR --เลือก/ไม่เลือกใน check box


Arrow keys (Select a button if the active option is a group of option buttons)

F1 key --Help

F4 key --แสดงรายการที่ active อยู่

BACKSPACE --แสดงโฟลเดอร์ที่อยู่เหนือขึ้นไป 1 ระดับ

Microsoft Natural Keyboard Shortcuts /ทั่วไป ๆ

Windows Logo --แสดง/ซ่อน Start menu

Windows Logo+BREAK --แสดง System Properties

Windows Logo+D --แสดงหน้าจอ desktop

Windows Logo+M --ย่อหน้าต่างงานทั้หมด

Windows Logo+SHIFT+M --โชว์หน้าต่างงานที่เราย่อไว้ (ยกเลิกการย่อหน้าต่าง)

Windows Logo+E --เปิด My computer

Windows Logo+F,CTRL+Windows Logo+F --ค้นหา

Windows Logo+F1 --Help

Windows Logo+ L --ล็อค keyboard

Windows Logo+R --Run

Windows Logo+U --Utility Manager 

วันมาฆบูชา

ความเป็นมาของวันมาฆบูชา
          วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พุทธศาสนิกชน(ชาวพุทธ) จะพร้อมใจกันทำบุญเป็นกรณีพิเศษกว่าปกติ เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ ของทุก ๆ ปี ในวันมาฆบูชานี้ เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ นับว่าเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานมั่นคง เรียกวันดังกล่าวนี้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งแปลว่า วันที่มีการประชุมที่ ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ
          ๑. พระภิกษุสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
          ๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
          ๓. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บวชให้เองทั้งสิ้น
          ๔. วันประชุมนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓)
          เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์เช่นนี้ พระพุทธองค์จึงทรงถือโอกาสแสดงโอวาทปาติ โมกข์ คือ คำสอนที่เป็นหลักสำคัญ ในทางพระพุทธศานา ในท่ามกลางพระอริยสงฆ์นั้น นับเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดพุทธกาล โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นการประมวลคำสอนหลักของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์สาวกนำไปประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนผู้อื่นในแนวทางเดียวกัน คือ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา               ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา           ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี               ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
สมโณ โหติ ปรํ วิเหธยนฺโต           ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
สพฺพปาปสฺส อกรณํ               การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
กุสลสฺสุปสมฺปทา               การทำความดีให้ถึงพร้อม
สจิตฺต ปริโยทปนํ               การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์
เอตํ พุทฺธานสาสนํ               นี้เป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา
อนูปวาโท อนูปฆาโต           การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย
ปาติโมกฺเข จ สํวโร               การสำรวมในปาติโมกข์
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ           ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ               การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด
อธิ จิตฺเต จ อาโยโค           ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง
เอตํ พุทฺธานสาสนนฺติ           นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

          โอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นคำประพันธ์ ๓ พระคาถาครึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อดังต่อไปนี้
          พระคาถาที่ ๑ ตรัส ๓ หัวข้อ ได้แก่
          ๑. ขันติ คือ ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง
          ๒. ผู้รู้กล่าวว่าพระนิพพานเป็นสิ่งยอดเยี่ยม
          ๓. ผู้ที่ยังฆ่า ทำร้าย เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
          เหตุที่พระองค์ยกขันติธรรมขึ้นตรัสนั้น แสดงว่าศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เป็นไปเพื่อให้อดทนต่อความหนาว ร้อน หิวกระหาย ถ้อยคำที่ให้ร้ายใส่ความด่าว่า และอดทนต่อทุกขเวทนาอันแรงกล้าที่เกิดขึ้นจากความเจ็บไข้ ไม่สบาย ทีทรงสรรเสริญพระนิพพานว่าเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมนั้น แสดงว่า ผลแห่งการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา เป็นอย่างสูงสุดนั้นคือ ทำจิตใจไม่ให้ "ตัณหา คือ ความทะยานอยาก" รัดรึงไว้ได้ และที่ตรัสติเตียนบรรพชิตผู้ที่ยังฆ่า ทำร้าย เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ นั้น แสดงว่า ศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เป็นไปเพื่อ ความมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง
          พระคาถาที่ ๒ ทรงตรัสแสดง ๓ หัวข้อ ได้แก่
          ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง
          ๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อมบริบูรณ์
          ๓. การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
          ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย
          ข้อที่ห้ามการทำบาป และทำกุศลให้ถึงพร้อมนั้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาไม่เป็นแต่เพียงสอนให้เว้นจากความชั่ว หรือบาป ทั้งทางกาย วาจา และใจเท่านั้น หากแต่ยังสอนให้ทำความดีหรือบุญกุศลทั้งทางกาย วาจา และใจอีกด้วย การเว้นจาก การฆ่ากัน เบียดเบียนกันแล้วนอกจากจะได้บุญ ยังเป็นการช่วยอุปถัมภ์ค้ำชู บำรุงชีวิตและความสุขของกันและกันอีกด้วย และที่พระองค์ทรงแสดงเรื่อง การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นั้น แสดงว่าความบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากกิเลส เครื่องเศร้าหมองใจคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นับว่าข้อที่ ๓ นี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด เพราะว่าคนทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด คนเราจะทำความดีความชั่ว ก็เพราะใจ กล่าวคือ เมื่อจิตใจบริสุทธิ์แล้ว จะทำอะไร จะพูดอะไร ก็ดีไปตามหมดทั้งสิ้น แต่ถ้าจิตใจเศร้าหมอง ด้วยกิเลสแล้ว จะทำอะไร จะพูดอะไร ก็จะชั่วไปตาม กล่าวคือล้วนเป็นไปในทางทุจริตทั้งสิ้น
          พระคาถาที่ ๓ กับอีกกึ่งพระคาถาพระองค์ทรงตรัส ๖ หัวข้อ ได้แก่
          ๑. การไม่พูดจาว่าร้ายข้อนขอดใคร
          ๒. ความไม่กระทบกระทั่งประหัตประหารกัน
          ๓. การสำรวมระวังในพระปาติโมกข์
          ๔. ความรู้จักประกาณในการบริโภคอาหาร
          ๕. การอยู่ในเสนาสนะที่นังที่นอนอันสงัด
          ๖. การประกอบความเพียรในทางจิตอย่างสูง (การฝึกจิตให้สงบ)
          การที่พระพุทธองค์ตรัสหัวข้อทั้ง ๖ นี้แสดงให้เห็นว่า การพูดจาข้อนขอดกัน การพูดเสียดสีแดกดัน การทะเลาะกัน การชกต่อยกัน ทำร้ายกัน ไม่เป็นสิ่งที่ดีเลยสำหรับหมู่สมณะ สมณะมณฑลสมควร มีขนบธรรมเนียมเป็นแนวทางนำความประพฤติอันสงบเรียบร้อย ไม่เป็นผู้เห็นแก่กิน ยินดีในที่อยู่ที่อาศัยที่เงียบสงัด บำเพ็ญสมาธิ ภาวนารักษาจิตใจของตนเองให้เป็นสมาธิสะอาด สว่าง สงบทุกเมื่อ พระสาวกผู้เที่ยวสั่งสอนพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คงยกเอาพระธรรมในโอวาทปาติโมกข์นี้ขึ้น เป็นหลักสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แม้แต่พระพุทธ องค์เองก็ทรงยกมาตรัสประทานโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน และทรงมางดเสียเมื่อครั้งพระองค์ได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์เอาสิกขาบทที่ พระองค์ทรงบัญญัติไว้นั้นมาสวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนแทน เรียกว่า "สวดพระปาติโมกข์" ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ได้ปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
          ในวันเพ็ญ เดือนมาฆะ (เดือน ๓) ต่อมานั้นยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งในสมัยพุทธกาล กล่าวคือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ที่ปาวาลเจดีย์ แคว้นวัชชี เนื่องจากขณะนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา พระองค์ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า "มีพุทธบริษัท ๔ ครบบริบูรณ์แล้ว และพระพุทธศาสนาได้เจริญมั่นคงแล้ว" จึงได้ตัดสินพระทัยว่า "นับแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน จะปรินิพพาน" การที่พระพุทธองค์ทรงตัดสินและอธิษฐานพระทัยจะปรินิพพานนี้เรียกว่า ทรงปลงพระชนมายุสังขาร
          เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น ๒ อย่างในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เช่นเดียวกันเช่นนี้ จึงนับได้ว่า เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา สมควรที่ชาวพุทธจะแสดงความระลึกถึงและจัดพิธีบูชาให้เป็นกรณี พิเศษกว่าวันพระตามปกติ
ความเป็นมาของการประกอบพิธีวันมาฆบูชาในประเทศไทย
          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงมองเห็นความสำคัญของวันนี้ จึงได้โปรดให้มีพระราชพิธีประกอบการกุศลขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ และให้เป็นงานหลวงตลอดไป ต่อมาได้แพร่กระจายไปตามวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศและทางราชการ ก็จัดให้เป็นวันหยุดราชการ ๑ วัน เพื่อให้ข้าราชการได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญกุศลในวันดังกล่าวนี้อีกด้วย กิจที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติในวันมาฆบูชา
          ในวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาวันนี้ ชาวพุทธจะร่วมกัน
          - ทำบุญตักบาตร
          - ไปวัด สมาทานศีล รักษาศีล
          - ฟังเทศน์-ฟังธรรม สนทนาธรรม
          - ทำวัตรสวดมนต์
          - ถวายภัตตาหารเช้า-เพล แด่พระสงฆ์
          - เจริญสมาธิภาวนา
          - บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ และ
          - เวียนเทียน
          โดยเฉพาะการเวียนเทียนนั้น ทางวัดต่าง ๆ จะประกาศให้ทราบ โดยทั่วกัน ซึ่งจะกำหนดเวลาเวียนเทียนจะเป็นตอนเช้า ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนค่ำ ก็ได้ สุดแล้วแต่ความสะดวกของวัดนั้น ๆ ส่วนในกรุงเทพมหานครมักจะจัดให้มีการเวียนเทียนในเวลากลางคืนประมาณ ๑๙:๐๐น. หรือ ๒๐:๐๐ น. ชาวบ้านจะถือดอกไม้ ธูปเทียนไปประชุมพร้อมเพรียงกันที่หน้าอุโบสถหรือปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัด แล้วแต่ว่าทางวัดนั้น ๆ จะจัดทำให้มีการประกอบพิธีในที่ใด บางครั้งชาวบ้านจะหาซื้อดอกไม้ ธูปเทียนได้ในบริเวณวัดนั้นอีกด้วย
          เมื่อถึงกำหนดเวลาแล้ว พระสงฆ์ สามเณร ก็จะมาประชุมพร้อมเพรียงกันใน ที่นัดหมายไว้จะมีการทำวัตรสวดมนต์ เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ หลังจากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนา ให้พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงานได้ฟังเพื่อประดับสติปัญญาและเกิดเป็นบุญกุศล ศิริมงคลตามสมควรแก่เวลา แล้วประธานสงฆ์ในพิธีนั้นจะนำกล่าวคำบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา
          เสร็จแล้วก็จะมีการเวียนเทียน โดยมีพระสงฆ์ สามเณร เป็นผู้เดินนำ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเดินตามลำดับกัน น้อมจิตใจระลึกนึกถึงพระคุณของพระตรัย ด้วยอาการอันสงบ โดยจัดแบ่งเป็นแถว ๆ ละ ๆ ๔ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ซึ่งก็แล้วแต่ความกว้างแคบของ บริเวณ ถือดอกไม้ ธูปเทียนที่จุดเสร็จแล้ว เดินเวียนขวา (ทำประทักษิณ) รอบอุโบสถหรือปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้น ๆ เมื่อครบ ๓ รอบแล้วนำดอกไม้ธูปเทียนนั้นไปปักในที่ที่จัดไว้เป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน หลังต่อจากนั้นบางวัดอาจจัดให้มีการเทศน์ โดยมักจะเทศน์เรื่องโอวาทปาติโมกข์ และสวดโอวาทปาติโมกข์ อาจสวดก่อนหรือหลังเทศน์ก็ได้ บางวัดจัดให้มีเทศน์ เรื่องอื่น ๆ อีกตามสมควร
คำถวายดอกไม้ธูปเทียนเนื่องในวันมาฆบูชา
          อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะจันโท ยุตโต ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง
          สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต โอวาทะปาติโมกขัง อุททิสิ ตะทา หิ อัฑฒะเตระสานิ สัพเพสังเยวะ
          ขีณาสะวานัง สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพหิ เต อะนามันติตา วะ ภะคะวะโต สันติกัง อาคะตา เวฬุวะเน
          กะลันทะกะนิวาเป มาฆะปุณณะ-มิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ ตัสมิญจะ สันนิปาเต ภะคะวะตา วิสุทธูโปสะถัง
          อะกาสิ อะยัง อัมหากัง ภะคะวะโต เอโกเยวะ สาวะกะสันนนนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัฑฒะเตระสานิ
          ภิกขุสะตานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยังตักกาละสะทิสัง
          สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสะระมานา อิมัสมิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ
          ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุโน ภันเต ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิมิ สักกาเร ทุคคะตะปัณณา การะภูติ
          ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
          วันนี้ มาประจวบวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือน ๓ พระจันทร์เพ็ญประกอบด้วยฤกษ์มาฆะ ตรงกับวันที่พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ในที่ประชุมสาวกสงฆ์พร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนแต่พระขิณาสพ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ไม่มีผู้ใดเรียกมา ประชุมยังสำนักพระผู้มีพระภาค ณ เวฬุวนาราม เวลาตะวันบ่าย ในวันมาฆปุรณมี และสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทำวิสุทธอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ณ ที่ประชุมนั้น การประชุมสาวกสงฆ์พร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีครั้งเดียวเท่านั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ล้วนแต่พระขีณาสพ บัดนี้เราทั้งหลายมาประจวบ มาฆปุรณมีนนักขัตตสมัยนี้ ซึ่งคล้ายกับวัน จาตตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว มาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคนั้น แม้ปรินิพพานนานมาแล้ว จะเคารพบูชาพระผู้มีพระภาคและพระภิกษุสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์นั้น
          ด้วยสักการะทั้งหลายมีเทียนธูปและดอกไม้เป็นต้น เหล่านี้ในเจดียสถานนี้ ซึ่งเป็นพยานของพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยสาวกสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเหล่านั้น
          แม้ปรินิพพานนานมาแล้วด้วยดี ยังเหลืออยู่แต่พระคุณทั้งหลาย จงทรงรับสักการบรรณาการของคนยากเหล่านี้ ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ
จุดมุ่งหมายแห่งการถวายสักการะในวันมาฆบูชา
          จุดมุ่งหมายแห่งการถวายสักการะบูชาเนื่องในวันมาฆบูชานั้น ข้อสำคัญอยู่ที่การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ระลึกถึงพระโอวาทที่พระพุทธองค์ทรงได้แสดงในท่ามกลางพระอริยสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป แม้เวลาจะได้ผ่านล่วงเลยมากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้วก็ตาม ย่อมจะน้อมนำให้เกิดความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระธรรมและพระพุทธจริยาวัตรของพระพุทธองค์ ชวนให้เกิดอุตสาหะพยายามในการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักคำสอน ตามกำลังความสามารถในชีวิตประจำวันสืบต่อไป มิใช่เพียงแต่ไปร่วมถวายดอกไม้ ธูปเทียน เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา ตามวัดวาอารามต่าง ๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น บาป อกุศล ทุจริตที่ประจำอัธยาศัยเคยมีอยู่อย่างใด ก็คงที่อยู่อย่างนั้น วิธีปฏิบัติเช่นนี้ ถึงจะมีอายุและเคยผ่านพิธีมาฆบูชามามากเพียงใด ก็หาได้ลดลาวาศอกในการทำบาปและเสริมสร้างบุญกุศลเมตตาอารีย์และมีจิตใจที่ สะอาดผ่องใสได้ไม่ชวนให้น่าเสียดายราคาค่าดอกไม้ ธูปเทียน ที่ต้องจับจ่ายมาบูชาบ้าง ค่าพาหนะไป-มาบ้าง ที่สุดจนกระทั่งวัน เวลา ที่ผ่านหมดไปโดยไม่เกิดประโยชน์พอสมกัน คงปลื้มใจอยู่แต่เพียงว่าได้ไปทำพิธีที่วัดแล้ว ไม่เสียปีเสียเดือน
          ส่วนข้อวัตรประพฤติปฏิบัติที่เป็นศีลธรรมจริยธรรม เป็นบุญกุศล มักจะไม่ได้ติดตามตนจนถึงบ้าน ขาดตกบกพร่อง เสียเพียงแค่ประตูวัดเป็นส่วนมาก เมื่อไม่มีบุญเก่าเป็นพื้นฐานส่งเสริมบุญใหม่ให้ทวียิ่ง ๆ ขึ้นไปทุกคราว มาฆบูชาก็สำเร็จบุญเพียงอามิสบูชาเพียงชั่วไฟไหม้ธูปเทียนหมดเล่มเท่านั้น น้อยนักที่จะสำเร็จบุญถึงปฏิบัติบูชา ตั้งตนอยู่ในศีลธรรมทั้งในที่ลับและที่แจ้ง สมกับที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญได้เลย
          ในวันมาฆบูชาเช่นนี้ น่าที่ผู้ที่เป็นชาวพุทธจะได้สำนึกถึงการถวายปฏิบัติบูชา เปลี่ยนนิสัยเข้าถือหลักธรรม ให้เป็นพุทธบูชาอย่างยิ่งสักปีละอย่าง เช่นในปีนี้ก็ขอให้คอยย้อนพิจารณาความประพฤติของตนเองอยู่เสมอว่า ได้ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างไรบ้างหรือไม่ อบายมุขทางแห่งความเสื่อมเสีย มีเล่นการพนัน ชอบเที่ยวเตร่ ดื่มสุราเมรัย เป็นต้นเหล่านี้ได้เจริญ-อบรมจนติดเป็นนิสัยแล้วหรือไม่ เมื่อรักตนเองจริง ก็ควรจะยุติธรรมต่อตนเองจริง ๆ เห็นส่วนชั่วส่วนบาปยังมีอยู่ ในตนเองอย่างไรต้องยอมรับผิดตามความเป็นจริง พยายามลด ละ เลิกเพื่อถวายพระเสียบ้าง ถวายได้ เพียงปีละอย่างสองอย่างมากปีก็จะละได้หมด
          ส่วนดี ส่วนบุญ ส่วนกุศลก็ต้องยุติธรรมเช่นเดียวกัน อย่าหลงเข้าข้างตนจนเกินไป ทำบุญสักชั่วโมงเดียวก็คิดเอาอานิสงส์เป็นจำนวนปี หรือทำดีเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนที่ชั่วยังแอบปิดบังซ่อนเร้นไว้อีกมากมาย ก็มักจะทวงอานิสงส์บุญไม่รู้จบ ฝึกหัดปฏิบัติตนคือคอยระวัง งดเว้น ละเลิกบาปความชั่วที่เคยทำให้ค่อย ๆ หมดไป ระวังไม่ให้บาปใหม่ เพิ่มเติมขึ้นอีก คอยอบรมสะสมกระทำความดี เก็บเล็กผสมน้อย ฝึกฝนปฏิบัติตนอยู่เสมอไม่เลือกว่าเวลาไหน จะเป็นดิถีพิเศษ หรือไม่ก็ตาม พระพุทธองค์ย่อมทรงยกย่องผู้ที่บูชาพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชาว่าเป็นการ บูชาอย่างยิ่ง
          อนึ่ง เมื่อท่านพุทธศาสนิกชนได้ประพฤติตนให้เป็นการบูชาอย่างยิ่งเช่นนี้ มิใช่แต่จะเกิดคุณประโยชน์เฉพาะแก่ตนเองเท่านั้น หากแต่อนุชนรุ่นหลัง ลูกหลาน เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง ตลอดจนผู้ที่พบเห็นทั่วไปย่อมจะนิยม ยกย่อง เคารพ นับถือเป็นตัวอย่าง แบบอย่างที่ดี ที่จะชักนำให้นิยมประพฤติปฏิบัติความดีตามกันยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกโสดหนึ่งด้วย ดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกเถิด ท่านได้บำเพ็ญความดีไว้จนล้นเหลือ จึงเป็นตัวอย่างของการกระทำความดีสืบต่อมาตลอดเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังได้รับการยกย่อง นับถือ เคารพ สักการะบูชามืเสื่อมคลาย จึงสมควรอย่างยิ่งที่ที่พวกเราชาวพุทธทุกคนจะถวายความเคารพบูชา ด้วยการเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ดีเสีย แล้วหันเข้าหาหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ระลึกถึงพระคุณของพระองค์ บูชาพระองค์ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระองค์ตามกำลังความสามารถ เริ่มตั้งแต่วันมาฆบูชานี้เป็นต้นไปด้วยกันทุกคนเทอญ
หลักธรรมที่ควรนำไปประพฤติปฏิบัติ
          หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมาย ถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้
หลักการ ๓
          ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
          ๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
          การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิด เมตตาและปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
          ๓. การทำจิตของตนให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิต ไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
          ๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
          ๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
          ๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
          ๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
          ๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง
อุดมการณ์ ๔
          ๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
          ๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
          ๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
          ๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘
วิธีการ ๖
          ๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
          ๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
          ๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีของสังคม
          ๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
          ๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
          ๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี