ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

Kurt  Lewin’ s Studies
แบ่งลักษณะผู้นำเป็น  3  แบบ  คือ
1.1 ผู้นำแบบอัตถนิยมหรืออัตตา (Autocratic Leaders) จะตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แน่นอนขึ้นอยู่กับตัวผู้นำเอง คิดถึงผลงานไม่คิดถึงคน บางครั้งทำให้เกิดศัตรูได้ ผู้นำลักษณะนี้จะใช้ได้ดีในช่วงภาวะวิกฤตเท่านั้น ผลของการมีผู้นำลักษณะนี้จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และไม่เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำเผด็จการลิเบีย
 



อดอล์ฟ ฮิตเลอร์  ผู้นำเผด็จการนาซีเยอรมัน
 

1. 2  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic  Leaders)   ใช้การตัดสินใจของกลุ่มหรือให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  รับฟังความคิดเห็นส่วนรวม  ทำงานเป็นทีม  มีการสื่อสารแบบ  2 ทาง ทำให้เพิ่มผลผลิตและความพึงพอใจในการทำงาน  บางครั้งการอิงกลุ่มทำให้ใช้เวลานานในการตัดสินใจ   ระยะเวลาที่เร่งด่วนผู้นำลักษณะนี้ไม่เกิดผลดี   

บารัค โอบามา  ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา



นายกอร์ดอน  บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ


1.3  ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยม  (Laissez- Faire  Leaders)  จะให้อิสระกับผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มที่ในการตัดสินใจแก้ปัญหา  จะไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน  ไม่มีหลักเกณฑ์  ไม่มีระเบียบ  จะทำให้เกิดความคับข้องใจหรือความไม่พอใจของผู้ร่วมงานได้และได้ผลผลิตต่ำ  การทำงานของผู้นำลักษณะนี้เป็นการกระจายงานไปที่กลุ่ม  ถ้ากลุ่มมีความรับผิดชอบและมีแรงจูงใจในการทำงานสูง  สามารถควบคุมกลุ่มได้ดี มีผลงานและความคิดริเริ่มสร้างสรร
            ลักษณะผู้นำแต่ละแบบจะสร้างบรรยากาศในการทำงานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นการเลือกใช้ลักษณะผู้นำแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์ด้วย
 
ที่มา  :  ชาญชัย  อาจินสมาจารย์. การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.
                             พิมพ์ดี จำกัด, 2541.
              ธร  สุนทรายุทธ.  (มปป.)  หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. 
                      กรุงเทพมหานคร  :  เนติกุลการพิมพ์,  2539.

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้น ม.3 ม.6 และนิทรรศการ

           พิธีมอบประกาศนียบัตรนักเรียนชั้น ม.3 ม.6 และนิทรรศการวิชาการ วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2554 ประธานในพิธี คือ นายทองฮวย  ขันทอง ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บรรยากาศในวันนั้นมีผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้นำท้องถิ่นมาร่วมเป็นจำนวนมาก

ห้องประชุมถูกตกแต่งอย่างสวยงาม


นักเรียนชมนิทรรศการวิชาการ

นายทันใจ  ชูทรงเดช ผู้อำนวยการสถานศึกษา

นายทองฮวย  ขันทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว

นักเรียนขึ้นรับประกาศนียบัตรตามลำดับ

ประธานตัดริบบิ้นเปิดงานวิชาการ

ผมเอง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา


ผู้ปกครองนักเรียนมาร่วมงานอย่างคับคั่ง


CONGRATULATION

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศรีปทุมมินิมาราธอน

โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคม ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์  ได้จัดกิจกรรมวิ่งมาราธอนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ออกกำลังกายและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ในการนี้ได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านนายอำเภอท่าตูม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน


ท่านนายอำเภอเปิดงานที่จุด START
น้ำดื่มระหว่างทางการแข่งขัน
มอบรางวัลแด่ผู้ชนะ

ห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom )

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย
          
          ห้องเรียนเสมือนเป็นการเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ 
                                                                                                                       ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมาย ถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็น การเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน


แหล่งอ้างอิง: http://www.thaigoodview.com/node/18133
                       :http://www.google.com

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

สงครามเก้าทัพ
“มันแสนสี่ กูเจ็ดหมื่น หาญยืนสู้
ให้มันรู้ ว่ากูน้อย ไม่ถอยหนี
ดาบต่อดาบ เลือดต่อเลือด เชือดร่างพลี
แผ่นดินนี้ เพื่อลูกหลาน ขานถึงกู”

สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์กับอาณาจักรพม่า หลังจากที่พระบาทพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์อังวะ หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พม่าแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือน เช่นกรุงศรีอยุธยา
 สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง
    * ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
    * ทัพที่ 2 ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์
    * ทัพที่ 3 และ 4 เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด
    * ทัพที่ 5-7 เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 3 4 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
    * ทัพที่ 8-9 เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง 50,000 นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ
เวลานั้นทางฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง 2 เท่า ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสีย กรุงศรีอยุธยาไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือจัดกองทัพออกเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ
    * ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
    * ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ คอยไปรับหลวงของพระเจ้าปดุงที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
    * ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี
    * ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน
สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียง อาหาร แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับครั้นคร้ามคิดว่ากองทัพไทยมีกำลัง มากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ 8-9 จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบทั้งกองทัพ ขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น ทางด้านเหนือพระยากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัว เมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ
ส่วนทัพที่บุกมาทางด่านแม่ละเมามีกำลังมากกว่าจึงสามารถตีเมืองพิษณุโลก ได้ แต่เมื่อเสร็จศึกทางด้านพระเจดีย์สามองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยหัวเมืองทางเหนือ
ส่วนทางปักใต้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมืองเสร็จศึกที่ลาดหญ้าแล้ว เสด็จยกทัพลงไปช่วยทางปักต์ใต้ต่อ แต่ก่อนที่จะเสด็จไปถึงทัพพม่าได้โจมตีเมืองระนองถึง เมืองถลาง เวลานั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ แต่ชาวเมืองถลางนำโดยคุณหญิงจันภริยาเจ้าเมืองถลางที่ถึงแก่กรรมและนางมุก น้องสาว ได้รวบรวมกำลังชาวเมืองต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ สามารถป้องกันข้าศึกพม่าไม่ให้ยึดเมืองถลางไว้ได้ หลังเสร็จศึกแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรีย์ (หรือท้าวเทพสตรี) นางมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร นอกจากนี้ทัพพม่าบางส่วนสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ และยกลงไปตีเมืองสงขลาต่อ เจ้าเมืองและกรมการเมืองพัทลุงพอทราบข่าวทัพพม่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ ด้วยความขลาดจึงหลบหนีเอาตัวรอด แต่มีภิษุรูปหนึ่งนามว่าพระมหาช่วยมีชาวบ้านนับถือศรัทธากันมาก ได้ชักชวนชาวเมืองพัทลุงให้ต่อสู้ป้องกันสกัดทัพพม่าไม่ให้เข้ายึดเมือง พัทลุงได้ เมืองกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพลงมาช่วยหัวเมืองปักต์ใต้ ตีทัพพม่าตั้งแต่เมืองไชยาลงมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นไปพ้นจากหัวเมืองปักต์ใต้แล้ว พระมหาช่วยต่อมาได้ลาสิกขาบทและเข้ารับราชการ
ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ้างอิงภาพจาก : กองบัญชาการกองทัพบก http://www.rta.mi.th/rta.asp
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
          เมื่อเกิดเหตุจราจลขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกทราบข่าว จึงยกทัพกลับจากเขมร บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันมาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้ทรงแก้ไข วิกฤติการณ์ พร้อมทั้งทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ซึ่งนับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี
     หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงทรงชำระสอบสวนพฤติกรรมของขุนนางข้าราชการทั้งหลาย ที่พบว่าไม่จงรักภักดีก็ให้เอาตัวไปประหารชีวิตเสีย พร้อมทั้งได้ทรงปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบ และทรงมีดำริว่า พระราชวังเดิมมีวัดขนาบทั้งสองด้าน ทำให้ขยายกว้างขวางออกไปไม่ได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา)สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีใหม่
เหตุผลในการย้ายราชธานี
    1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา
    2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง
3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด

ลักษณะของราชธานีใหม่
ที่สำคัญอื่น ๆ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงคูเมืองเดิมสมัยกรุงธนบุรี
    ราชธานีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้สร้างขึ้นได้ทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 การสร้างราชธานีใหม่นี้โปรดฯให้สร้างเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือกำหนดผังเมืองเป็น 3 ส่วน
    1.ส่วนที่เป็นบริเวณพระบรมมหาราชวัง วังหน้า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทุ่งพระเมรุ และสถาน
    2.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง เริ่มตั้งแต่คูเมืองเดิมไปทาง ทิศตะวันออก จนจดคูเมืองที่ขุดใหม่หรือคลองรอบกรุง ประกอบด้วย คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง และเพื่อสะดวกในการคมนาคม โปรดให้ขุดคลองสองคลองคือคลองหลอด 1 และคลองหลอด 2 เชื่อมคูเมืองเก่ากับคูเมืองใหม่ติดต่อถึงกัน ตามแนวคลองรอบกรุงนี้ ทรงสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการขึ้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างถนน สะพาน และสถานที่อื่น ๆ ที่จำเป็น ราษฎรที่อาศัยอยู่ในส่วนนี้ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก
    3.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยนอกกำแพงเมือง มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองรอบกรุง เป็นหย่อม ๆ กระจายกันออกไป คลองสำคัญที่โปรดให้ขุดขึ้น คือ คลองมหานาค ราษฎรในส่วนนี้ประกอบอาชีพการเกษตร และผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทางช่างประเภทต่าง ๆ
                   
    สำหรับการสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น นอกจากจะให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรแล้ว ยังโปรดให้สร้างวัด
พระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ขึ้นภายในวังด้วย เหมือนวัด พระศรีสรรเพชญสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วให้
อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเป็น สิริมงคลแก่กรุงเทพมหานคร และพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สำหรับพระนครเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2528 แล้วจัดให้มีการสมโภช และพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยน จากบวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ สืบมาจนปัจจุบัน 
ที่มา www.chiraporn.igetweb.com

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

เส้นทางการโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ของกองทัพญี่ปุ่น






เช้า ตรู่ของวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในหมู่เกาะฮาวาย และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

ประธานาธิบดี
<>แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ของสหรัฐฯ ได้สั่งระดมสรรพกำลังทั้งหมดและเตรียมประกาศสงครามกับญี่ปุ่น

รายงานเบื้องต้นกล่าวว่า เครื่อง บินทิ้งระเบิดต่างๆ ของญี่ปุ่น ได้พุ่งเป้าการโจมตีไปยังเรือรบ เครื่องบิน และคลังอาวุธทางทหารในอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ บริเวณเกาะโออาฮู (Oahu) ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 และเป็นเกาะสำคัญของหมู่เกาะฮาวาย

ข่าว การโจมตีครั้งนี้ ได้สร้างความตลึงให้กับสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯ โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นยังคงกำลังทำการเจรจาอยู่กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ กับ นายคอร์เดลล์ ฮัลล์ (Cordell Hull) อยู่ในกรุงวอชิงตัน เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่มีต่อญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นได้รุกรานจีนอยู่อย่างต่อเนื่อง

ณ เวลา 07.55 นาฬิกาของเกาะดังกล่าว เครื่องบินโจมตีระลอกแรกอยู่ระหว่าง 50 ถึง 150 ลำ ได้ถล่มฐานทัพเรือสหรัฐเป็นเวลา 35 นาที สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลต่อกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ฝูงเครื่องบินของญี่ปุ่น ได้ทิ้งระเบิดแรงสูงและระเบิดเพลิงเข้าใส่

การโจมตีในรอบที่ 2 ได้ตามมาที่เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งประกอบด้วยฝูงเครื่องบินอย่างน้อย 100 ลำ โดยใช้เวลานานนับชั่วโมง

มีเครื่องบินญี่ปุ่นอย่างน้อย 2 ลำที่ถูกสอยร่วง แต่มีรายงานว่า มีทหารสหรัฐฯ อย่างน้อย 350 นาย เสียชีวิตจากระเบิดที่ฐานทัพอากาศ Hickam Air Force Base ของ สหรัฐฯ บนเกาะโออาฮู (Oahu) ต่อมามีประกาศออกมาจากทางการว่า มีทหารอีก 104 นายที่ถูกสังหาร และอีก 300 นาย ได้รับบาดเจ็บในการโจมตีครั้งนี้

รายงานจากวิทยุ กล่าวว่า กองกำลังฝ่ายสหรัฐฯ ได้ยิงเครื่องบินญี่ปุ่นร่วง 6 ลำ และจมเรือดำน้ำอีก 4 ลำ

มีการรายงานต่างๆ ออกมาว่าเกาะเมืองหลวงของฮาวาย คือ เกาะโฮโนลูลู (Honolulu) มีการทิ้งระเบิดใส่เช่นกัน รวมทั้งในเกาะกวม (Guam) ในแปซิฟิก และในเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ คือ เมืองมะนิลา (Manila) นอกจากนี้ เรือรบของอังกฤษที่ชื่อว่า ปีเตอเรล (Peterel) ได้ถูกจมเช่นเดียวกัน ที่เมืองชางไฮ (Shanghai) ในประเทศจีน

ส่วน รายงานจากสิงคโปร์ บ่งบอกให้ทราบว่ามีการระดมเรือรบของญี่ปุ่นอยู่ในทะเลจีนใต้ (South China Sea) และดูเหมือนว่ากำลังจะมุ่งหน้าสู่อ่าวไทย (Gulf of Siam) เพื่อมายังกรุงเทพ

ประธานาธิบดีรูสเวลท์ กำลังเตรียมคำชี้แจงต่อสภาคองเกรสในวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ได้รับการคาดหมายว่าประธานาธิบดีจะร้องขอให้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Times ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีการคาดหมายว่าเยอรมนีและอิตาลีจะประกาศสงครามกับสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ชั่วโมงต่อจากนี้

แม้ ว่าการโจมตีของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวอเมริกัน แต่ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าความรู้สึกเช่นนี้ ได้บ่มตัวอยู่มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ได้เลวร้ายลงนับแต่ปี ค.ศ.1931 เมื่อญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองแมนจูเรียทางตอนเหนือของจีน ช่วงเวลาทศวรรษที่ผ่านมา ความขัดแย้งดังกล่าวได้กลายมาเป็นสงครามแบบเต็มรูปแบบระหว่างญี่ปุ่นกับจีน

ในขณะที่สหรัฐฯ ได้ทำการคว่ำบาตรการค้าต่อญี่ปุ่น จากนั้นในเดือนกันยายน ค.ศ.1940 ญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงที่เรียกว่า Tripartite Pact กับ เยอรมนีและอิตาลี ญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นสมาชิกในกลุ่มอักษะที่กำลังทำสงครามอยู่ในยุโรป แต่ญี่ปุ่นยังคงทำการเจรจาอยู่กับสหรัฐฯ ในเรื่องสิทธิทางการค้า กระทั่งถึงวันดังกล่าวนี้
ความโมโหของญี่ปุ่นต่อการคว่ำบาตรทางการค้าของสหรัฐฯ และต่อการสนับสนุนของฝ่ายพันธมิตรที่ให้กับจีน ได้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นประกาศสงคราม

ภาย ในชั่วเวลา 2 ชั่วโมงของการโจมตี เรือรบ 6 ลำถูกจม เรือลำเลียงอื่นๆ 112 ลำถูกจมหรือไม่ก็เสียหาย เครื่องบิน 164 ลำถูกทำลาย ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ 3 ลำ ซึ่งปกติจะประจำการอยู่ที่เพิร์ลฮาเบอร์ รอดพ้นจากการโจมตี เนื่องจากได้รับมอบหมายให้ไปที่อื่นในวันดังกล่าว


การโจมตี ครั้งนี้ มีทหารญี่ปุ่นน้อยกว่า 100 คนเสียชีวิต แต่ทหารสหรัฐฯ มากกว่า 2,400 คนเสียชีวิต และในจำนวนนี้มี 1,000 คน ที่อยู่บนเรือรบที่ชื่อว่า อริโซนา (Arizona) ซึ่งได้ถูกโจมตีเสียหายในขณะที่จอดทอดสมออยู่ มีพลเรือนสหรัฐฯ อีก 1,178 คน ได้รับบาดเจ็บ

วันรุ่งขึ้นต่อมา ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ได้เรียกการโจมตีที่เกิดขึ้นว่า "เป็นวันแห่งความเลวร้าย" และสหรัฐฯ ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น นับเป็นการยุตินโยบายแบบอยู่โดดเดี่ยวของสหรัฐฯ

มี การสอบสวนต่อมาอีก 6 ครั้งในช่วงสงคราม และอีก 1 ครั้งหลังสงคราม ถึงการที่สหรัฐฯ ได้ถูกโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัวอย่างสิ้นเชิงในครั้งนี้ การสอบสวนดังกล่าวเผยว่าเป็นเพราะขาดการประสานและขาดการสื่อสารระหว่าง รัฐบาลที่วอชิงตันและเกาะโออาฮู และระหว่างกองกำลังต่างๆ ทำให้มีผู้บัญชาการสหรัฐฯ ในพื้นที่คือ พลเรือเอกคิมเมล (Kimmel) และพลโทชอร์ท (Short) ถูกปลด

การโจมตีครั้งนี้ นับเป็นชัยชนะของญี่ปุ่นและทำให้ญี่ปุ่นเปิดฉากการรุกรานเต็มรูปแบบเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บรรดา เรือรบสหรัฐฯ ต่างๆ ที่เสียหายหรือไม่ก็ที่ถูกจมลงเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 มีเพียง 3 ลำเท่านั้น คือ เรือรบอริโซนา (Arizona) โอคลาโฮมา (Oklahoma) และยูทาห์ (Utah) ที่เสียหายเกินการซ่อมแซม และเรือรบยูทาห์ ก็ได้ล้าสมัยลงแล้ว

นอก จากนี้ เหตุการณ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ยังได้ช่วยหลอมรวมชาติอเมริกันให้เป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ในการทำสงครามกับญี่ปุ่นอีกด้วย

ที่มา www.teenee.com